วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร 
          ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาและตอบคำถามลักษณะ หรือลักษณะต้องทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการและคำถามในลักษณะมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ที่ ตัดสินใจและต้องการใช้ระบบนี้ส่วนมากมักจะเป็นผู้บริหารระดับกลางซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องับปัญหาและการทำงานหลัก แต่สารสนเทศที่ได้จากระบบสนับสนุนการตัดสินใจมักจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารระดับสูงได้
          เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงต้องมองในระดับกว้างขององค์กรและผู้บริหารมีเวลาน้อย ระบบสารสนเทศเพื่อ ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องใช้งานง่ายและสารสนเทศที่ได้จากระบบจะต้องอยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย แหล่งข้อมูลที่ใช้อาจจะมาจากแหล่งข้อมูลภายนอกและแหล่งข้อมูลภายในเช่นระบบประมวลผลรายการหรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ทำให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถหาสาเหตุที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ต่างๆได้
          ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารมีประสิทธิภาพและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลสูงด้วยการใช้เครื่อง เมนเฟรม ใช้งานง่ายและมีความสามารถในการแสดงผลด้วยรูปภาพได้ด้วยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยสารสนเทศถูกถ่ายโอนจากเครื่องเมนเฟรมหรือฐานข้อมูลข้อมูลภายนอกเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และผู้บริหารสามารถใช้อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งเช่น เมาส์ เพื่อเลือกจากรายการของผลลัพธ์และรูปแบบการแสดงผลได้ เนื่องจากผู้บริหารมักจะทำการค้นหาข้อมูลและตอบคำถามที่ต้องการมากกว่าการป้อนข้อมูล ในระบบสารสนเทศเพื่อ ผู้บริหารนี้จึงไม่นิยมใช้แป้นพิมพ์ ผลลัพธ์ที่ได้มักจะอยู่ในรูปแบบของแผนภาพหรือแผนภาพและตาราง ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าใจแนวโน้มและนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ตัดสินปัญหาได้ตรงตามความต้องการ
หน้าที่ของ EIS
 - ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์
 - ช่วยในการควบคุมเชิงกลยุทธ์(Strategic control)
 - การสร้างเครือข่าย(Networks)
 - ช่วยในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
 - ช่วยในการจัดการกับวิกฤต(Crisis management


ความสามารถทั่วไปของ EIS
 - การเข้าถึงดาต้าแวร์เฮาส์(Data Warehouse)
 - ใช้ความสามารถในการเจาะข้อมูล(Drill down)
 - การนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่มีความยืดหยุ่น
 - การเข้าถึงสารสนเทศที่หลากหลาย
 - การใช้โมเดลในการวิเคราะห์แนวโน้ม(Trend analysis)


คุณสมบัติของ EIS
 - สนับสนุนการวางกลยุทธ์  และการวางแผนกลยุทธ์
 - เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ  โดยเฉพาะข่าวสารที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
 -มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง  เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่                     แน่นอนและขาดความชัดเจน
 - ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน  เนื่องจากผู้บริหารมีกิจกรรมที่หลาหลายหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเวลา              ของผู้บริหารมีค่ามาก
 - พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร




ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS กับ DSS
 - EIS - ผู้บริหารระดับสูง
 - DSS - ผู้บริหารระดับกลาง
 - EIS  ออกแบบให้ง่ายต่อใช้งาน  โดยมีตาราง กราฟ DSS จะให้ข้อมูลการตัดสินใจตามลักษณะงาน
 - ความแตกต่างในเรื่องของทักษะการใช้ระหว่าง EIS และ DSS

  ระบบผู้เชี่ยวชาญ 
          ระบบผู้เชี่ยวชาญได้รับความสำเร็จได้ด้วยการนำคุณสมบัติทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะความฉลาดเหมือนกับมนุษย์ เข้ามาใช้ร่วมด้วย ระบบผู้เชี่ยวชาญช่วยในการตัดสินใจได้โดยขบวนการทางคอมพิวเตอร์ที่ทำการรวบรวมเหตุผลทางตรรกะเข้าด้วยกัน ซึ่งระบบผู้เชี่ยวชาญเรียกใช้ความรู้เฉพาะด้านหนึ่งๆ ได้จากฐานความรู้ (Knowledge Base) ขึ้นอยู่กับค่าความจริงของเหตุการณ์ใดๆ ที่ต้องการตัดสินใจ ผ่านกลไกในการสรุปข้อมูลและให้เหตุผล เพื่อให้คำแนะนำพร้อมทั้งมีคำอธิบายของคำแนะนำแก่ผู้ใช้ด้วย โครงสร้างของระบบผู้เชี่ยวชาญแสดงดังรูป

รูป โครงสร้างของระบบผู้เชี่ยวชาญ
 
          ส่วนประกอบที่จำเป็นของฐานความรู้คือ ฮิวริสติก (Heuristic) ซึ่งหมายถึงส่วนของความรู้ภายในขอบเขตของระบบผู้เชี่ยวชาญในด้านการตัดสินใจ ซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัว เช่นการสำรวจน้ำมันหรือการประเมินราคาหุ้น โดยฐานความรู้จะถูกพัฒนาขึ้นโดยการนำความรู้และความเชี่ยวชาญมาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ต้องการ
          ระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถนำไปใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศในองค์กรทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นระบบการประมวลผลรายการ, ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหรือในระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือจะใช้เป็นเครื่องมือในการให้ คำแนะนำเดี่ยวๆ เลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น การนำระบบผู้เชี่ยวชาญมาใช้ร่วมกับระบบประมวลผลรายการสำหรับการสั่งซื้อสินค้า ระบบผู้เชี่ยวชาญอาจกำหนดราคาสั่งซื้อโดยการพิจารณาจากกลุ่มลูกค้า, ปริมาณการสั่งซื้อและรายการส่งเสริมการขายที่มีอยู่ทั้งหมดของสินค้าที่ถูกสั่งซื้อนั้น เนื่องจากบริษัทต่างๆมีรายการส่งเสริมการขายที่แตกต่างกัน มีทั้งแบบในระยะเวลาสั้นๆ, แบบที่ให้เฉพาะบางพื้นที่ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ง่ายนักสำหรับพนักงานรับสั่งสินค้าที่จะสามารถจัดการแจ้งให้ลูกค้าทราบได้ทันทีทางโทรศัพท์ ความยุ่งยากของงานเหล่านี้มีมากมายจึงมีการนำระบบผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย จัดการ แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบผู้เชี่ยวชาญมิได้เข้ามาแทนที่ผู้เชี่ยวชาญระบบตัวจริง เพียงแต่ช่วยให้ผู้ตัดสินใจ ทำการตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

ระบบผู้เชี่ยวชาญ
 ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ใช้ ในการให้คำแนะนำที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในบางสาขา 
 มีลักษณะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมความรู้ของผู้เชี่ยวชาญเอาไว้(Knowledge based)
 โปรแกรมจะพยายามหาคำตอบจากสิ่งที่ผู้ใช้ได้ป้อนเข้าไป หรือให้คำแนะนำที่ได้จากกฏที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของ ES
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะด้านแก่ผู้ใช้โดยทั่วไป
- ให้ความช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญ 
- ทดแทนผู้เชี่ยวชาญ
- กระจายความรู้ โดยเฉพาะสาขาที่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความชำนาญ เช่น แพทย์  นักการเงิน  นักธรณีวิทยา
-ความแน่นอน  เป็นการสร้างความแน่นอนและความเที่ยงตรงให้เกิดขึ้น เช่น  การวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือการวิเคราะห์แหล่งแร่ เป็นต้น
- เตรียมการสำหรับอนาคต  ลดความเสี่ยงและป้องกันการขาดแคลนความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจเมื่อเกิดความต้องการขึ้น

ตัวอย่างของระบบผู้เชี่ยวชาญ
- ด้านการแพทย์
- ด้านการผลิต
- ด้านธรณีวิทยา
- ด้านกระบวนการผลิต ด้านกระบวนการทำงานของบริษัทบัตรเครดิต
- ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ
- ด้านการค้าระหว่างประเทศ

องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ
- ฐานความรู้(Knowledge base)
- เครื่องมือในการการอนุมาน(Inference Engine)
- อุปกรณ์ช่วยในการอธิบาย(Explanation facility)
- อุปกรณ์ในการหาความรู้(Knowledge acquisition facility)
- การติดต่อกับผู้ใช้(User Interface)
ข้อจำกัดของระบบผู้เชี่ยวชาญ
- การเก็บความรู้จากผู้เชี่ยวชาญทำได้ยาก
- การสร้างกฎต่างๆ ทำได้ยาก
- ใช้แก้ปัญหาได้เฉพาะจุดเท่านั้น




วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


คำศัพท์เพิ่มเติม
Cash management systems
ระบบการจัดการเงินสด (Cash Management System)
      -ช่วยให้บริษัทสามารถประมาณการและจัดการเกี่ยวกับระบบเงินสดได้รวดเร็วขึ้น โดยดูจากข้อมูลของการรับสั่งสินค้า และจาก Invoice ของการซื้อและขาย
   -ระบบจะมีการประมวลผลทั้งในด้านการรับและจ่ายเงินสด เช็ค โอนเงิน ฯลฯ และสามารถดูรายละเอียดของเอกสารที่เกิดขึ้นในแต่ละรายการได้เช่นเลขที่เอกสาร เงื่อนไขการจ่ายชำระ
   -สามารถกระทบยอดรายการที่เกิดขึ้นจริงกับรายการที่เกิดขึ้นกับธนาคารได้โดยผู้ใช้บันทึกรายการ Statement ของธนาคาร หรือโอนข้อมูล Statement ได้
Electronic Funds Transfer
         EFT ย่อมาจาก ElectronicFunds Transfer การโอนเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์การโอนเงินจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีหนึ่งโดยใช้คอมพิวเตอร์การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินระหว่างบุคคลหรือองค์กรระบบที่ใช้ในการส่งผ่านโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคารหรือสถาบันการเงิน ระบบนี้สามารถโอนเงินจากบัญชีหนึ่งเข้าไปฝากอีกบัญชีหนึ่งได้ทันที
Cost -accounting Systems
               ระบบบัญชีต้นทุน (Cost Accounting System) เป็นระบบที่ให้ควบคุมต้นทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริษัท โดยข้อมูลและสินค้าจะมีความสัมพันธ์เป็นแบบ Parent & Child กับข้อมูลทางการเงินเพื่อใช้ในการจัดระดับของรายละเอียด ในแต่ละระดับจะสามารถออกรายงานเปรียบเทียบต้นทุนที่เป็นประมาณการและต้นทุนที่ใช้ไป ซึ่งการบันทึกต้นทุนที่เกิดขึ้นสามารถบันทึกเป็น Cost Center, Project หรืออื่นๆ แล้วแต่ผู้ใช้
Time to market
                 เวลาในการตลาด(ทีทีเอ็ม)คือความยาวของเวลาที่ใช้ในผลิตภัณฑ์จากการคิดจนเป็นที่พร้อมสำหรับการขาย ทีทีเอ็มเป็นสิ่งที่สำคัญในอุตสาหกรรมที่ผลิตภัณฑ์ที่ล้าสมัยอย่างรวดเร็ว สมมติฐานที่พบบ่อยคือการที่ทีทีเอ็มที่สำคัญที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์แรกของชนิด แต่ที่จริงผู้นำมักจะมีความหรูหราของเวลาในขณะที่นาฬิกาจะเห็นได้ชัดว่าการทำงานสำหรับผู้ติดตาม
Material Requirement s Planning (MRP)
              Material Requirement Planning (MRP) คือ การวางแผนการผลิตชิ้นส่วน ซึ่งต้องผลิตเป็นขั้นตอน ทำให้ระยะเวลาการผลิตสินค้าสำเร็จรูปขึ้นอยู่กับระยะเวลาการผลิตส่วนประกอบของสินค้า หากชิ้นส่วนถูกผลิตช้าเกินไป จะทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าสำเร็จรูปได้ แต่ถ้าชิ้นส่วนถูกผลิตขึ้นมาเร็วเกินไป ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาชิ้นส่วน ก่อนที่จะนำไปผลิต เราจึงต้องวางแผนการผลิตชิ้นส่วนประกอบเพื่อลดต้นทุนในการจัดเก็บให้น้อยที่สุด โดยไม่ทำให้การผลิตสินค้าสำเร็จรูปล่าช้าไป
Bill of Materials (BOM)
              Bill of Material (BOM) หมายถึง โครงสร้างสินค้า หรือสูตรการผลิต เป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิต จะแสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ ส่วนประกอบ,จำนวนส่วนประกอบรายการสิ่งที่ผลิตขึ้นจากส่วนประกอบรายการวัตถุดิบรายการข้างต้นจะเป็นความต้องการต่อสินค้าหนึ่งหน่วย หนึ่งในข้อมูลที่สำคัญของการผลิตก็คือสูตรการผลิต (Bill Of Materials) การที่จะติดตามข้อมูล Item มากมายเพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของการส่งมอบ ความต้องการใช้ และกำลังการผลิต และต้องการที่จะรู้ว่ามีชิ้นส่วนใดบ้างที่ต้องการเมื่อมีการเริ่มผลิต สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีข้อมูลของ BOM

Economic Order Quantity (EOQ)
              การหาปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสม ( Economic Order Quantity : EOQ) EOQ เป็นแบบจำลองที่นำมาใช้เพื่อหาปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสม คือ ต้นทุนการสั่งซื้อ ต้นทุนการจัดเก็บรักษา ต้นทุนสินค้าขาดมือ ให้อยู่ในระดับต่ำ โดยมากจะคิดเป็นต่อหนึ่งปีการนำแบบจำลอง EOQ ผู้ใช้ควรจะทราบข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้
                   1. คิดจากสินค้า 1 รายการ
                   2. มีข้อมูลการใช้ต่อปี
                   3. อัตราการใช้คงที่ตลอดปี
                   4. ช่วงเวลาก่อนสินค้ามาถึง (Lead time) คงที่ทุกครั้งที่สั่ง
                   5. ไม่คิดหรือไม่รับส่วนลดปริมาณสินค้า
Manufacturing Resource Planning (MRPII)
                MRP II (Manufacturing Resource Planning) เป็นระบบที่รวมการวางแผนและบริหารทรัพยากรการผลิตอื่น ๆ นอกจากการวางแผนและควบคุมกำลังการผลิตและวัตถุดิบการผลิตเข้าไปในระบบด้วย
MRP II ได้วิวัฒนาการถึงขั้นที่รวมหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผนงบการจัดซื้อวัตถุดิบ การวางแผนต้นทุนสินค้าคงคลังของระบบบริหารสินค้าคงคลัง การวางแผนกำลังคนที่สัมพันธ์กับกำลังการผลิต ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนของการผลิต เข้าอยู่ในระบบ MRP II ด้วยความสามารถนี้ทำให้ MRP II เป็นระบบที่สามารถส่งข้อมูลทุกชนิดที่ระบบบัญชีต้องการให้แก่ระบบบัญชีได้ นั่นก็คือ MRP II เป็นระบบที่รวมเอา Closed Loop MRP ระบบบัญชี และระบบซิมูเลชัน เข้าด้วยกัน เป็นการขยายขอบเขตของสิ่งที่สามารถวางแผนและบริหารให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้นกว่าเดิมโดยการใช้ระบบ MRP II ธุรกิจการผลิตสามารถที่จะวางแผนและบริหารระบบงานต่าง ๆ คือ การขาย บัญชี บุคคล การผลิต และ สินค้าคงคลัง เข้าด้วยกันได้อย่างบูรณาการ ด้วยความสามารถนี้ทำให้ MRP II เริ่มถูกเรียกว่าBRP (Business Resource Planningและเริ่มเป็นแนวคิดหลักของระบบ CIM (Computer Integrated Manufacturing) โดยการใช้ระบบ MRP II ธุรกิจการผลิตสามารถที่จะวางแผนและบริหารระบบงานต่าง ๆ คือ การขาย บัญชี บุคคล การผลิต และ สินค้าคงคลัง เข้าด้วยกันได้อย่างบูรณาการ ด้วยความสามารถนี้ทำให้ MRP II เป็นแนวคิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
Just in Time
         การผลิตแบบ Just In Time หรือ JIT คือ การผลิตหรือการส่งมอบสิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ โดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ซึ่งหมายรวมถึงบุคคลากรในส่วนงานต่าง ๆ ที่ต้องการงานระหว่างทำ (Work In Process) หรือวัตถุดิบ (Raw Material) เพื่อให้เกิดการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้วัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ (Raw Material), งานระหว่างทำ (Work In Process) และสินค้าสำเร็จรูป(Finished Goods) กลายเป็นศูนย์ โดยวัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดีคือ
                   1. ต้องการควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory)
                   2. ต้องการลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิตให้น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Lead Time)
                   3. ต้องการขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตให้เป็นศูนย์ (Zero Failures)
                   4. ต้องการขจัดความสูญเปล่าในการผลิตดังต่อไปนี้
                          - การผลิตมากเกินไป: ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ถูกผลิตมากเกินความต้องการ
                        - การรอคอย :วัสดุหรือข้อมูลสารสนเทศ หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวหรือติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก
                          - การขนส่ง :มีการเคลื่อนไหวหรือมีการขนย้ายวัสดุในระยะทางที่มากเกินไป
                          - กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ: มีการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น
                          - การมีวัสดุหรือสินค้าคงคลัง: วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีเก็บไว้มากเกินความจำเป็น
                          - การเคลื่อนไหว: มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน
                          - การผลิตของเสีย: วัสดุและข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ
จะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ กันเลยว่า JIT มีบทบาทกับเราอย่างไร เอาเป็นเรื่องของการนัดสัมภาษณ์งานก็แล้วกัน เช่น เมื่อบริษัทต้องการที่จะนัดเราสัมภาษณ์งานในเวลา 10:00 น.นั่นหมายถึงว่าผู้สัมภาษณ์หรือผู้บริหารที่จะมาสัมภาษณ์เราได้มีการวางตารางงานเอาไว้แล้ว ว่าช่วงเวลานั้นจะเป็นช่วงเวลาที่สะดวก เขาจะไม่นัดให้มาก่อนหน้านั้น เพราะไม่อยากให้มาสัมภาษณ์งานต้องรอนาน และเขาก็ไม่อยากให้เรามาสายเพราะเนื่องจากผู้สัมภาษณ์ก็ไม่ต้องการมานั่งรอที่จะสัมภาษณ์งานด้วย และผู้สัมภาษณ์ก็อาจจะมีภาระงานอื่นที่ต้องทำเช่นกัน ฉะนั้นคำว่า Just In Time ก็จะมีความหมายถึงการตรงต่อเวลา ไม่เร็วและไม่สายเกินกว่าเวลาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการรอคอย ได้เป็นอย่างดีทีนี้เราลองมาดูกันในส่วนของข้อดีและข้อเสียของระบบ JIT กันดีกว่า
Radio Frequency Identification (RFID)
            Radio Frequency Identification เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
RFID ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆเช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมูลของวัตถุ ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไร ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้น ๆ ในปัจจุปันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียนข้อมูล
Electronic Product Code (EPC)
                เลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (EPC) เป็นโครงสร้างใหม่ในการกำหนดเลขรหัสให้กับสินค้าที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Auto-ID Center โดยมีองค์กร GS1 เป็นผู้สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้การกำหนดเลขรหัสเพื่อบ่งชี้สินค้าแต่ละหน่วย แต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน นับได้ว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าเลขรหัสบาร์โค้ดในระบบเดิม โดยเลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (EPC) จะเป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นและบรรจุอยู่ภายในหน่วยความจำของ RFID Tag เพื่อประโยชน์ในการอ่านและบ่งชี้ข้อมูลต่างๆ สำหรับเลขรหัสบาร์โค้ดเป็นเลขบ่งชี้เพื่อกำกับสินค้าชนิดนั้นๆ โดยสินค้าประเภทเดียวกันที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการก็จะมีเลขรหัสเดียวกันทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นสินค้าที่มีวันที่ผลิตและวันหมดอายุต่างกัน ระบบ EPC จะมีลักษณะการนำไปใช้งานได้มากกว่าระบบบาร์โค้ด เพราะ EPC มีโครงสร้างเลขรหัสที่มีจำนวนตัวเลขมากกว่า จึงสามารถนำไปกำหนดให้กับสินค้าทุกชิ้นมีเลขรหัสที่ต่างกันทั้งหมดได้ ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นสินค้าที่เหมือนกันแต่คนละชิ้นก็จะมีเลขรหัสต่างกัน ทำให้สินค้าที่มีวันที่ผลิตและวันหมดอายุต่างกันมีเลขรหัสต่างกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการสินค้านั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความสัมพันธ์ของ  ERP , CRM , SCM

ERP , CRM , SCM

ระบบ ERP หมายถึงอะไร
        ERP   ย่อมาจาก  Enterprise Resource Planning  หมายถึง  การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
     ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ERPจะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
       ระบบ ERPเป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของERPมาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบERPสามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก(core business process)ต่างๆในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time  


บทบาทของ ERP 
.........................................................................................................................................................................

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์
(Customer Relationship Management : CRM)


                     CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือเรียกว่า การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด

                     เป้าหมายของ CRM นั้นไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป

ประโยชน์ของ CRM
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer  Behavior
2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน 
    ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ

ส่วนประกอบของ CRM 
 
1. ระบบการขายอัตโนมัติ ประกอบด้วย
- ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale - ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing - ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น 2. ระบบบริการลูกค้า (Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ  3. ระบบการตลาดอัตโนมัติ ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ 4. Data Warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลภายในมีที่มาจาก 2 แหล่ง คือ 1) มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดั้งเดิมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบฐาน ข้อมูล 2) ข้อมูลภายนอกได้แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น

.....................................................................................................................

ระบบ SCM คืออะไร
             โซ่อุปทาน หรือ Supply Chain หมายถึง ความพยายามทุก ๆ ประการ ที่จะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในด้านการผลิต และการจัดส่งสินค้า หรือบริการ จากผู้ผลิตสินค้า ถึงผู้ซื้อ หรือลูกค้า โดยจะเน้นที่การทำให้กิจกรรมการสั่งซื้อวัตถุดิบ และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เป็นไปอย่างราบรื่น และประหยัดที่สุดแม้ว่าหลายปีที่ผ่านมา ผู้ผลิต จะเป็นตัวจักรสำคัญในโซ่อุปทาน เพราะเป็นผู้ควบคุมปริมาณการผลิต และการจัดจำหน่าย แต่ปัจจุบัน ลูกค้า มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากที่คุณภาพในการผลิตสินค้าและบริการแทบจะไม่แตกต่างกัน ดังนั้น การตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เป็นไปด้วยความพึงพอใจสูงสุด จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งบริษัทที่ตระหนักถึงความสำคัญ และเรียนรู้การจัดการกับสายโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมจะนำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันต้องยอมรับว่า โซ่อุปทาน ประกอบด้วยการผลิต และการกระจายของสินค้าหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของเวลาการจัดส่ง ต้นทุน และความต้องการของลูกค้า ซึ่งปัจจัยทั้งหมดล้วนเปลี่ยนแปลงง่าย และทำนายได้ยาก การจัดการกับโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ จึงเปรียบเสมือนกับการรักษาสมดุลของสิ่งที่สลับซับซ้อนซึ่งต้องการการเตรียมความพร้อมที่ดีเยี่ยม และมีการวางแผนที่เหมาะสมพร้อมรับมือกับข้อมูลในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 
การจัดการโซ่อุปทาน Supply Chain Management (SCM) คืออะไร?                        
 การจัดการโซ่อุปทาน หรือ SCM คือ การจัดการทั้งด้านอุปสงค์ และอุปทาน การจัดหาวัตถุดิบและส่วนประกอบการผลิต การจัดเก็บ และการติดตามสินค้า การรับคำสั่งซื้อ และการจัดการคำสั่งซื้อ การจำหน่ายสินค้าทั่วทั้งสายการผลิต และการจัดส่งสินค้าแก่ลูกค้า จะเห็นว่า SCM ไม่ได้เกี่ยวข้องเพียงการเคลื่อนย้ายสินค้าเท่านั้น แต่เป็นภาพรวมที่ใหญ่กว่ามาก ดังนั้น SCM ที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้กิจการได้เปรียบในการแข่งขัน นำมาซึ่งผลกำไรที่สูงสุดการวางแผนระดับปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ จะเพิ่มคุณค่า และอำนวยความสะดวกต่อการเชื่อมโยงในภาพรวม ทำให้เกิดความเข้าใจว่าการตัดสินใจในส่วนหนึ่งส่วนใดของสายโซ่ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อส่วนอื่น ๆ ในสายโซ่เดียวกัน ทั้งนี้ SCM จะมีขอบเขตที่กว้างไกลกว่า การวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning, ERP) เพราะมันได้ครอบคุลมไปถึงการจัดการตั้งแต่การวางแผนคัดเลือกการปรับปรุงสินค้า การพยากรณ์ การวางแผนจัดซื้อ การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ การวางแผนการผลิต การขาย และการขนส่งสินค้า ตลอดจนการจัดการกับสินค้าคงคลัง ขณะที่ ERP จะเน้นไปที่ การควบคุมการปฏิบัติงาน และ การจัดการสารสนเทศจากการทำธุรกรรม(Transaction) ที่เกิดขึ้นในโซ่ อุปทาน 
SCM มีประโยชน์อย่างไร ช่วยการตัดสินใจได้ในระดับไหน ด้านใดบ้าง?                  
          SCM จะช่วยในการตัดสินใจทั้งใน ระดับกลยุทธ์ และระดับปฏิบัติการ โดยในระดับกลยุทธ์นั้น เป็นการวางแผนระยะยาว ซึ่งอาจจะใกล้เคียง หรือเป็นสิ่งเดียวกับแผนการดำเนินงานของบริษัท โดยจะจัดทำ SCM ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่วางเอาไว้ ขณะที่ระดับปฏิบัติการนั้น จะเป็นการวางแผนระยะสั้น บางครั้งอาจจะเป็นการวางแผนวันต่อวัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางเอาไว้ โดยการตัดสินใจด้านหลัก ๆ ประกอบไปด้วย เรื่องสถานที่ตั้ง, การผลิต, ปริมาณการผลิต/สินค้าคงเหลือ, การขาย/การจัดส่ง เป็นต้นประโยชน์ของ SCM นั้นมีอยู่อย่างกว้างขวาง โดยมีหัวใจหลักอยู่ที่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั่นเอง อาทิ ช่วยปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า ทั้งการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้องตามความต้องการ ทันเวลา ในราคาที่เหมาะสม, ลดต้นทุนการทำ โซ่อุปทาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทุนหมุนเวียน, เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าคงคลัง, เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบระหว่างคู่ค้า, ทำให้มีการวางแผนการผลิตที่เหมาะสม และทำให้จัดการกับสินค้าคงคลังได้เป็นอย่างดีทั้งนี้ SCM จะอยู่ในรูปของอีเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น เพราะส่วนสำคัญของโซ่อุปทาน คือการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารให้ทั่วถึงกันทั้งลูกค้า และผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่าย ผ่านระบบเน็ตเวิร์ค เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงผลผลิต การลดต้นทุน และการให้บริการลูกค้า ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่ง Electronic SCM (e- SCM ) จะเปลี่ยนบทบาทในการดำเนินธุรกิจ และมุมมองต่อการตลาดเสียใหม่ 
การนำ SCM มาใช้ให้ประสบความสำเร็จ                 
           การนำ SCM มาใช้ให้เหมาะสมนั้นจะต้องพัฒนาขึ้นมาสำหรับทั้งระบบงานในองค์กร และเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายโซ่อุปทาน ทั้งนี้ SCM จะต้องคำนึงถึง ความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ และ ระบบการสื่อสารของคู่ค้าในสายโซ่เดียวกัน เป็นสำคัญ เพราะแต่ละผลิตภัณฑ์ต้องการกลยุทธ์ที่ต่างกันไปความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปแล้วมีผลิตภัณฑ์อยู่ 2 ประเภทคือ ผลิตภัณฑ์ทั่วไป และ นวัตกรรม- ผลิตภัณฑ์ทั่วไป มีแนวโน้มจะมีอุปสงค์ต่อผลิตภัณฑ์คงที่ มีวงจรชีวิตยาว มีกำไรต่อหน่วยน้อย จึงต้องการSMC ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลิตในปริมาณที่เหมาะสมต่ออุปสงค์ ด้วยต้นทุนที่ต่ำ โดยการจัดการกับผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ต้องทำให้มีการหมุนเวียนสินค้าสูง ลดสินค้าคงค้างในระบบโดยรวม ลดเวลาสั่งซื้อโดยไม่ให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และหาแหล่งวัตถุดิบราคาต่ำ- นวัตกรรม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวงจรชีวิตสั้น และมีอุปสงค์ที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ จึงจำเป็นต้องมีโซ่อุปทานที่สามารถตอบสนองความต้อกงารลูกค้าที่คาดการณ์ไม่ได้อย่างรวดเร็ว การจัดการสินค้าประเภทนี้จะต้องรักษาระดับปลอดภัยของสินค้าคงคลังไว้สูง ลดเวลาสั่งซื้อให้ได้ แม้ต้นทุนจะสูงขึ้น เลือกแหล่งวัตถุดิบที่สามารถจัดส่งได้รวดเร็ว และมีความยืดหยุ่นระบบการสื่อสารของคู่ค้าในสายโซ่เดียวกัน เนื่องจากโซ่อุปทานนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับหลายบริษัท การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน โปรแกรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัท เช่น การจัดการสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย (Vendor Managed Inventory), การวางแผน พยากรณ์ และเติมสินค้าคงคลังร่วมกัน (Collaborative Planning Forecasting and Replenishment, CPFR), การตอบสนองอย่างรวดเร็ว(Quick Response) และ การเติมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment) จะช่วยให้การติดต่อระหว่างบริษัทดีขึ้น โดยโปรแกรมที่กล่าวมาข้างต้นนี้ล้วนมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และลดความไม่แน่นอนของข้อมูลที่สนับสนุนในสายโซ่อุปทาน 

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ข้อ.1  ให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ทางธุรกิจที่ต้องแปรสภาพข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์
          ตอบ  พนักงานบัญชีจะต้องคิดค่าคอมมิชชันให้พนักงานขายแต่ละคนทุกสิ้นงวดบัญชีโดยการติดตั้งระบบค่าคอมมิชชันจากยอดขายอัตโนมัติ ด้วยโปรแกรมสำเร็จที่เชื่อมระบบเงินเดือนและค่าแรงของพนักงานขายกับระบบการสั่งขาย ทุกครั้งที่เกิดที่การขาย
2. 'ระบบสารสนเทศใดๆประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์''ท่านคิดว่าข้อความนี้ถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด
  ตอบ  ถูกต้อง เพราะสารสนเทศกว่าจะเป็นสารสนเทศ ต้องผ่านการประมวลผลต่างๆที่ต้องใช้ ฮาร์อแวร์และซอฟต์ช่วยในการประมวลผล
3. ระบบสารสนเทศใดที่พบเห็นบ่อยและใช้งานอย่างแพร่หลายที่สุด เพราะเหตุใดระบบสารสนเทศแบบนี้จึงมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
  ตอบ  ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ เพราะการตัดดสินใจนั้น มีผลต่อองค์กรณ์ จึงต้องมีสารสนเทศที่ดีและมีประสิทธิภาพ
  4. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถดึงคนมารวมกันได้ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถทำให้บุคคลอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้เช่นกัน จงอธิบาย
  ตอบ   มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวไกลไร้พรมแดน ติดต่อกันได้ทั่วโลกโดยที่เราไม่ต้องพบปะกันเลย อาจไม่เคยได้พบเห็นหน้ากันเลย สามารถจัดกลุ่มพูดคุยเจรจา แสดงความคิดเห็นในเรื่องสนทนาเดียวกันได้ อาจจะเป็นสังคม การงาน เพื่อน เพราะเกิดจากการพัฒนาสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัด
       ระบบสารเทศทำให้คนเราประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับตนเองได้และทำงานผ่านระบบสารสนเทศได้อย่างดีเยี่ยม แต่ในขณะเดียวกันการที่เราติดต่อสื่อสารผ่านเทคโนโลยีอาจมีข้อเสียอยู่บ้างเช่น อาจเกิดจากการใช้สารสนเทศไปในทางที่ผิด ทำให้เกิดความเสียหายต่อตนเอง

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Internet Intranet extranet

              1. อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ความหมายของ
             2. Intranet คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กภายในองค์กรเช่น ระบบเครือข่าย  Intranet โรงเรียนโคกสำโรงวิทยา intra แปลว่า ภายใน, และ net แปลว่าเครือข่าย แปลความหมายได้ง่ายๆว่า เครือข่ายภายในครับ intranet เป็นการนำเอารูปแบบ http และโปรโตคอล ต่างๆที่ใช้ในระบบอินเทอร์เน็ต มาทำเป็นเครือข่ายภายในองค์กรณ์ ทำให้ ถ้าหากคนในองค์กร ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็น ก็สามารถจะใช้ Intranet ได้ทันที ทำให้ประหยัดเวลา ในการอบรม และ สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกันภายในองค์กรได้  เครือข่ายภายนอกองค์กร 
             3.เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 72 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้  ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป



อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทั่วโลก
ความหมายของ Intranet คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กภายในองค์กร
เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กรกับภายนอกเข้าด้วยกัน