วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร 
          ระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาและตอบคำถามลักษณะ หรือลักษณะต้องทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการและคำถามในลักษณะมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ที่ ตัดสินใจและต้องการใช้ระบบนี้ส่วนมากมักจะเป็นผู้บริหารระดับกลางซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องับปัญหาและการทำงานหลัก แต่สารสนเทศที่ได้จากระบบสนับสนุนการตัดสินใจมักจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารระดับสูงได้
          เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงต้องมองในระดับกว้างขององค์กรและผู้บริหารมีเวลาน้อย ระบบสารสนเทศเพื่อ ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องใช้งานง่ายและสารสนเทศที่ได้จากระบบจะต้องอยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย แหล่งข้อมูลที่ใช้อาจจะมาจากแหล่งข้อมูลภายนอกและแหล่งข้อมูลภายในเช่นระบบประมวลผลรายการหรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ทำให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถหาสาเหตุที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ต่างๆได้
          ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารมีประสิทธิภาพและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลสูงด้วยการใช้เครื่อง เมนเฟรม ใช้งานง่ายและมีความสามารถในการแสดงผลด้วยรูปภาพได้ด้วยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยสารสนเทศถูกถ่ายโอนจากเครื่องเมนเฟรมหรือฐานข้อมูลข้อมูลภายนอกเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และผู้บริหารสามารถใช้อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งเช่น เมาส์ เพื่อเลือกจากรายการของผลลัพธ์และรูปแบบการแสดงผลได้ เนื่องจากผู้บริหารมักจะทำการค้นหาข้อมูลและตอบคำถามที่ต้องการมากกว่าการป้อนข้อมูล ในระบบสารสนเทศเพื่อ ผู้บริหารนี้จึงไม่นิยมใช้แป้นพิมพ์ ผลลัพธ์ที่ได้มักจะอยู่ในรูปแบบของแผนภาพหรือแผนภาพและตาราง ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าใจแนวโน้มและนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ตัดสินปัญหาได้ตรงตามความต้องการ
หน้าที่ของ EIS
 - ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์
 - ช่วยในการควบคุมเชิงกลยุทธ์(Strategic control)
 - การสร้างเครือข่าย(Networks)
 - ช่วยในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
 - ช่วยในการจัดการกับวิกฤต(Crisis management


ความสามารถทั่วไปของ EIS
 - การเข้าถึงดาต้าแวร์เฮาส์(Data Warehouse)
 - ใช้ความสามารถในการเจาะข้อมูล(Drill down)
 - การนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่มีความยืดหยุ่น
 - การเข้าถึงสารสนเทศที่หลากหลาย
 - การใช้โมเดลในการวิเคราะห์แนวโน้ม(Trend analysis)


คุณสมบัติของ EIS
 - สนับสนุนการวางกลยุทธ์  และการวางแผนกลยุทธ์
 - เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ  โดยเฉพาะข่าวสารที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
 -มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง  เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่                     แน่นอนและขาดความชัดเจน
 - ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน  เนื่องจากผู้บริหารมีกิจกรรมที่หลาหลายหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเวลา              ของผู้บริหารมีค่ามาก
 - พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร




ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS กับ DSS
 - EIS - ผู้บริหารระดับสูง
 - DSS - ผู้บริหารระดับกลาง
 - EIS  ออกแบบให้ง่ายต่อใช้งาน  โดยมีตาราง กราฟ DSS จะให้ข้อมูลการตัดสินใจตามลักษณะงาน
 - ความแตกต่างในเรื่องของทักษะการใช้ระหว่าง EIS และ DSS

  ระบบผู้เชี่ยวชาญ 
          ระบบผู้เชี่ยวชาญได้รับความสำเร็จได้ด้วยการนำคุณสมบัติทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะความฉลาดเหมือนกับมนุษย์ เข้ามาใช้ร่วมด้วย ระบบผู้เชี่ยวชาญช่วยในการตัดสินใจได้โดยขบวนการทางคอมพิวเตอร์ที่ทำการรวบรวมเหตุผลทางตรรกะเข้าด้วยกัน ซึ่งระบบผู้เชี่ยวชาญเรียกใช้ความรู้เฉพาะด้านหนึ่งๆ ได้จากฐานความรู้ (Knowledge Base) ขึ้นอยู่กับค่าความจริงของเหตุการณ์ใดๆ ที่ต้องการตัดสินใจ ผ่านกลไกในการสรุปข้อมูลและให้เหตุผล เพื่อให้คำแนะนำพร้อมทั้งมีคำอธิบายของคำแนะนำแก่ผู้ใช้ด้วย โครงสร้างของระบบผู้เชี่ยวชาญแสดงดังรูป

รูป โครงสร้างของระบบผู้เชี่ยวชาญ
 
          ส่วนประกอบที่จำเป็นของฐานความรู้คือ ฮิวริสติก (Heuristic) ซึ่งหมายถึงส่วนของความรู้ภายในขอบเขตของระบบผู้เชี่ยวชาญในด้านการตัดสินใจ ซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัว เช่นการสำรวจน้ำมันหรือการประเมินราคาหุ้น โดยฐานความรู้จะถูกพัฒนาขึ้นโดยการนำความรู้และความเชี่ยวชาญมาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ต้องการ
          ระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถนำไปใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศในองค์กรทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นระบบการประมวลผลรายการ, ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหรือในระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือจะใช้เป็นเครื่องมือในการให้ คำแนะนำเดี่ยวๆ เลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น การนำระบบผู้เชี่ยวชาญมาใช้ร่วมกับระบบประมวลผลรายการสำหรับการสั่งซื้อสินค้า ระบบผู้เชี่ยวชาญอาจกำหนดราคาสั่งซื้อโดยการพิจารณาจากกลุ่มลูกค้า, ปริมาณการสั่งซื้อและรายการส่งเสริมการขายที่มีอยู่ทั้งหมดของสินค้าที่ถูกสั่งซื้อนั้น เนื่องจากบริษัทต่างๆมีรายการส่งเสริมการขายที่แตกต่างกัน มีทั้งแบบในระยะเวลาสั้นๆ, แบบที่ให้เฉพาะบางพื้นที่ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ง่ายนักสำหรับพนักงานรับสั่งสินค้าที่จะสามารถจัดการแจ้งให้ลูกค้าทราบได้ทันทีทางโทรศัพท์ ความยุ่งยากของงานเหล่านี้มีมากมายจึงมีการนำระบบผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย จัดการ แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบผู้เชี่ยวชาญมิได้เข้ามาแทนที่ผู้เชี่ยวชาญระบบตัวจริง เพียงแต่ช่วยให้ผู้ตัดสินใจ ทำการตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

ระบบผู้เชี่ยวชาญ
 ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ใช้ ในการให้คำแนะนำที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในบางสาขา 
 มีลักษณะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมความรู้ของผู้เชี่ยวชาญเอาไว้(Knowledge based)
 โปรแกรมจะพยายามหาคำตอบจากสิ่งที่ผู้ใช้ได้ป้อนเข้าไป หรือให้คำแนะนำที่ได้จากกฏที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของ ES
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะด้านแก่ผู้ใช้โดยทั่วไป
- ให้ความช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญ 
- ทดแทนผู้เชี่ยวชาญ
- กระจายความรู้ โดยเฉพาะสาขาที่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความชำนาญ เช่น แพทย์  นักการเงิน  นักธรณีวิทยา
-ความแน่นอน  เป็นการสร้างความแน่นอนและความเที่ยงตรงให้เกิดขึ้น เช่น  การวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือการวิเคราะห์แหล่งแร่ เป็นต้น
- เตรียมการสำหรับอนาคต  ลดความเสี่ยงและป้องกันการขาดแคลนความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจเมื่อเกิดความต้องการขึ้น

ตัวอย่างของระบบผู้เชี่ยวชาญ
- ด้านการแพทย์
- ด้านการผลิต
- ด้านธรณีวิทยา
- ด้านกระบวนการผลิต ด้านกระบวนการทำงานของบริษัทบัตรเครดิต
- ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ
- ด้านการค้าระหว่างประเทศ

องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ
- ฐานความรู้(Knowledge base)
- เครื่องมือในการการอนุมาน(Inference Engine)
- อุปกรณ์ช่วยในการอธิบาย(Explanation facility)
- อุปกรณ์ในการหาความรู้(Knowledge acquisition facility)
- การติดต่อกับผู้ใช้(User Interface)
ข้อจำกัดของระบบผู้เชี่ยวชาญ
- การเก็บความรู้จากผู้เชี่ยวชาญทำได้ยาก
- การสร้างกฎต่างๆ ทำได้ยาก
- ใช้แก้ปัญหาได้เฉพาะจุดเท่านั้น